ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวเตย 

 

วิสัยทัศน์

        “ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกด้าน สืบสานและรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสู่การเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง”  

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนา 5 ด้าน ประกอบด้วย

       ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

       ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต

       ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย

       ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

       ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการที่ดี

 

เป้าประสงค์

      1. ระบบคมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการได้มาตรฐานทั่วถึงทุกพื้นที่

      2. ประชาชนมีอาชีพและรายได้ที่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต

      3. เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีระบบการจัดการศึกษาที่ได้มาตรฐาน

      4. ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่ดี และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้

      5. สังคมมีความเข้มแข็ง ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

      6. ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

      7. มีการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐานตามหลักธรรมาภิบาล

 

ตัวชี้วัด

      1. มีระบบคมนาคมขนส่งและสาธารณูปโภคได้มาตรฐาน

      2. ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

      3. สถานศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการศึกษา

      4. ร้อยละของประชาชนที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลดลง

      5. สถิติการเกิดอุบัติเหตุและอาญากรรมในพื้นลดลง

      6. จำนวนกิจกรรมด้านการส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

      7. องค์กรผ่านเกณฑ์ประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(LPA)

 

ค่าเป้าหมาย 

       1. ก่อสร้างถนนที่ได้มาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

       2. ครัวเรือนมีน้ำประปาใช้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

       3. ครัวเรือนที่ได้ผลกระทบจากน้ำท่วมลดลงร้อยละ 50

       4. ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ.

       5. สถานศึกษาผ่านเกณฑ์การประเมินตามาตรฐานการจัดการศึกษา

       6. ประชาชนที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลดลงจำนวนร้อยละ 20

       7. สถิติการเกิดอุบัติเหตุและอาญากรรมในพื้นลดลงร้อยละ 20

       8. จำนวนกิจกรรมด้านการส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

       9. องค์กรผ่านเกณฑ์ประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(LPA) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60   

 

กลยุทธ์

       1. พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่ง

       2. พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

       3. การควบคุมอาคารและการผังเมือง

       4. ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ กลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน และพาณิชยกรรม

       5. สนับสนุนและพัฒนาการจัดการศึกษาในระบบและนอกระบบ

       6. พัฒนาการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของเด็กก่อนวัยเรียน

       7. ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต

       8. สร้างความรู้ความเข้าใจด้านสาธารณสุขและการส่งเสริมสุขภาพ

       9. ส่งเสริมการกีฬา และนันทนาการ

       10. ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

       11. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อม

       12. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

       13. ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

       14. เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิต และรักษาความสงบภายในชุมชน

       15. ส่งเสริมประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค

       16. ส่งเสริมประชาชนมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่น

       17. ส่งเสริมเทิดทูลสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

       18. ส่งเสริมการศาสนา

       19. ส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น

       20. อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

       21. พัฒนาระบบการให้บริการประชาชน

       22.  ส่งเสริมธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการภายในองค์กรที่โปร่งใส

       23. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากร