ข้อมูลทั่วไป
 
ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์ ตราสัญลักษณ์
  • ประวัติความเป็นมาของ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเตย




    ประวัติตำบลหัวเตย
       ชุมชนหัวเตย มีผู้คนอาศัยมาช้านานแต่สมัยใดไม่ปรากฏชัดเจน เท่าที่ทราบจากบรรพบุรุษที่เล่าต่อ ๆ มาว่า ชุมชนนี้มีหัวหน้าปกครองแบบพ่อปกครองลูก เรียกว่า หัวเมือง ขึ้นตรงต่อเมืองไชยา ชุมชนหัวเตย มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบ ลำคลองไหลผ่านชุมชน คลองน้ำนี้มีต้นน้ำไหลมาจากอำเภอคีรีรัฐนิคม ผ่านตำบลบางงอน มาทางบ้านศรีไพรวัลย์ มาออกที่บ้านดีหมี บ้านดอนรี บ้านหัวเตยบน หัวเตยล่างผ่านตำบลศรีวิชัย ตำบลพุนพิน ไปออกแม่น้ำตาปีที่บ้านพุนพิน ตำบลท่าข้าม ลำคลองมีความยาวตั้งแต่ต้นน้ำถึงแม่น้ำตาปี ประมาณ 30 กิโลเมตร ตามแนวฝั่งคลอง ในเขตตำบลหัวเตยตั้งแต่บ้านดีหมีไปออกแม่น้ำตาปี มีต้นไม้น้ำ ชนิดหนึ่งเรียกว่า ต้นเตย ขึ้นงอกงามทั้ง 2 ฝั่ง คนในชุมชนหรือทั่วไปจึงเรียกชุมชนนี้ว่า ชุมชนหัวเตย หรือ บ้านหัวเตย มานาน จนไม่สามารถบอกได้ว่า ใครเป็นผู้ตั้งชื่อ ตำบลหัวเตย ว่าตำบลหัวเตย แต่พออนุมานได้ว่า ชื่อของตำบลคงจะมีมูลเหตุมาจากที่มีต้นเตยมากจึงเรียกว่า ตำบลหัวเตย ชุมชนนี้แต่เดิมไม่ได้แบ่งเป็นหมู่บ้าน ดังเช่นปัจจุบัน แต่ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มๆ ตามแนวคลอง หรือตามลุ่มน้ำ หนองน้ำ ตามความเป็นจริง ดังเช่น บ้านหัวเตย บ้านหัวด่าน บ้านหัวสวน บ้านหัวเกาะ บ้านตรอกโนง บ้านนานอก บ้านท้ายนาง บ้านหนองคลอง บ้านหนองแตน บ้านหนองน้ำใส บ้านนาลึก บ้านยางนม บ้านดอนสูง บ้านเกาะกลาง บ้านดอนรี บ้านคลองหิน บ้านนอกนา เป็นต้น คลองหัวเตย แต่เดิมกว้างกว่าปัจจุบันมีน้ำไหลตลอดปีอีกทั้งน้ำทะเลไหลขึ้นลงประชาชนใช้เรือพาย เรือแจว ไปมาหาสู่ แลกเปลี่ยนของกินของใช้แลกผักผลไม้ กับข้าวเปลือก ซึ่งเป็นพืชหลักของชาวตำบลหัวเตย ตำบลหัวเตยเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ แต่เดิมฝนตกต้องตามฤดูกาล พอถึงเดือนหกเดือนเจ็ด ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดนำฝนจากมหาสมุทรอินเดียมาตกแถวภูเขาและป่าในอำเภอคีรีรัฐนิคมน้ำจะไหลหลาก ลงมาจากคลองศก คลองแสงและคลองยัน ....


  • วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเตย


    "ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความสุขยั่งยืน"

    พันธกิจ

    1. ประชาชนมีอาชีพและมีรายได้เพียงพอ
    2. จัดให้น้ำ อุปโภค บริโภค อย่างทั่วถึง
    3. พัฒนาเส้นทางคมนาคม การขนส่ง ให้สะดวก และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้มั่นคง
    4. ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ลดอบายมุข พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีการกินดี อยู่ดี
    5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ สู่การบริหารจัดการที่ดี ให้มีความร่วมมือจากทุกฝ่าย รวมทั้งความร่วมมือจากประชาชน
    6. ส่งเสริมสุขภาพร่างกาย และจิตใจ ทุกเพศ วัย อย่างทั่วถึง
    7. กำจัดขยะ สิ่งปฏิกูล มลพิษ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

    จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา

    1. ประชาชนมีอาชีพและมีรายได้อย่างเพียงพอ
    2. มีน้ำ อุปโภค บริโภคทั่วถึง
    3. การคมนาคมสะดวก โครงสร้างพื้นฐานมั่นคง
    4. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    5. การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ( Good Governance )
    6. ประชาชนมีสุขภาพดี
    7. สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ